Too High Positive Inlet Pressure to the pump Maximum Net Positive Suction Head

ปั๊มไดอะแฟรมมีใช้กันอย่างแพร่หลายในงานขนถ่ายของได้หลายหลายสถานะจากที่เก็บไปยังสถานที่ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นก๊าซ, ของเหลว, โคลน หรือ ของแข็ง (ลักษณะเป็นเม็ด)

 

ดังนั้นผู้ใช้งานควรให้ความสำคัญกับการติดตั้งปั๊มไดอะแฟรม โดยเฉพาะข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงดันขาเข้า และจะมีผลมากขึ้นไปอีกถ้าวัสดุแผ่นไดอะแฟรมของปั้มเป็นเ PTFE ที่สามารถรับแรงดันขาเข้าได้ 0.6บาร์ (Net Positive Suction Head - NPSH).

 

เมื่อมีการติดตั้งปั๊มอยู่ด้านล่างของถังเก็บ จะมีความเสี่ยงสูงที่แรงดันขาเข้าจะเกินกว่าค่าที่กำหนด ดังนั้นค่า NPSH จะต้องถูกคำนวณอย่างแม่นยำ โดยใส่ใจเรื่องคำความสูงของถัง และค่าความถ่วงจำเพาะของของเหลว ซึ่งทั้งสองตัวแปรนี้จะมีผลโดยตรงต่อแรงดันขาเข้า

 

บ่อยครั้งที่ความจริงข้อนี้ถูกละเลยในขั้นตอนการติดตั้งปั๊ม หรือ เลือกปั๊มตำแหน่งในการติดตั้งค่าความถ่วงจำเพาะของของเหลวงหลายชนิดมีค่ามากกว่าค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำ(ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับประสิทธิภาพหรือข้อจำกัดของปั๊ม ที่กำหนดโดยผู้ผลิตปั๊มจะขึ้นอยู่กับค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำ 1 g/cm3 เสมอ) ตัวอย่างเช่น: กรดกำมะถันความเข้มข้น 98% มีค่าความถ่วงจำเพาะ 1.835 g/cm3 , กรดไนตริกความเข้มข้น 70% มีค่าความถ่วงจำเพาะ 1.42 g/cm3, กรดฟอสฟอริกค่าความเข้มข้น 90% มีค่าความถ่วงจำเพาะ 1.75 g/cm3  และถ้าเราใช้งานปั้มที่ 80% ของค่าสูงสุดของแรงดันขาเข้าที่ปั้มจะรับได้ จะส่งผลเสียทำให้อายุการใช้งานของแผ่นไดอะแฟรมสั้นลงอย่างมาก

 

ปัญหาจะเริ่มขึ้นเมื่อปั๊มทำงาน ทุกครั้งที่บอลวาล์วปิด ของเหลวที่ไหลเป็นจังหวะจะหยุดทันที สิ่งนี้จะสร้างผลกระทบให้เกิดแรงกระแทก หรือ ที่เรียกว่า Hammer effect ที่จะสร้างแรงดันสูงถึง 4 เท่าของค่าแรงดัน NPSH ปกติ ด้วยแรงกระทำดังกล่าวสามารถทำให้แผ่นไดอะแฟรม โดยเฉพาะที่เป็นวัสดุ PTFE จะมีอายุการใช้งานแค่เพียงเป็นวัน หรือ สัปดาห์เท่านั้น และ ความเสียหายของแผ่นไดอะแฟรมอาจทำให้ปั๊มเสียหายเพิ่มเติมเมื่อของเหลวรั่วไปถึงส่วนอื่น รวมไปถึงอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานที่และเป็นอันตรายต่อคน

 

กรุณา ติดต่อเรา ถ้าท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม และ ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือก และ ใช้งานปั้มไดอะแฟรมอย่างถูกวิธี